มะเร็งเต้านม

ค์ระ
ต้

ที่มารูป th.wikipedia.org 

ส่วนประกอบของเต้านม
       เต้านมของผู้หญิงแต่ละคนก็มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันไป แต่ที่แน่ๆส่วนประกอบต่างๆเหมือนกัน คือ หัวนม (Nipple) และลานนม (Areoia) ซึ่งเป็นส่วนที่เห็นได้จากภายนอก แต่เต้านมยังมีส่วนประกอบที่อยู่ภายในซึ่งมองไม่เห็นอีก เช่น ต่อมน้ำนม(Lobule) ท่อน้ำนม(Duct) และเนื้อเยื่อไขมัน(Fatty tissue) เต้านมของผู้หญิงมีการเปลี่ยนรูปร่างได้ตามธรรมชาติ เช่น ในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน ผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ตามธรรมชาติ เช่น ในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือนเต้านมจะขยายขึ้นเล็กน้อย มีความคัดตึง หรือในช่วงตั้งครรภ์ให้นมบุตรเต้านมก็จะขยายใหญ่ขึ้น พร้อมที่จะเป็นทางผ่านของน้ำนมให้ทารกได้ดื่มกิน หรืออย่างสาวๆที่ค่อนค่างอวบ เต้านมก็อาจจะคล้อยต่ำได้เหมือนกัน แต่ทุกสถานการณ์ที่ว่ามาหากผ่านพ้นช่วงนั้นๆไปแล้วและมีการบริหารหน้าอกอย่างสม่ำเสมอก็สามารถคืนรูปทรงดังเดิมให้กับเต้านมได้
ลักษณะของเต้านม
       เต้านมเป้นอวัยวะที่เต็มไปด้วยต่อมและเนื้อเยื่อไขมันมากมายระหว่างชั้นของผิวหนังและผนังช่องอก ซึ่งเนื้อเยื่อไขมันนี่เองที่เป็นตัวกำหนดขนาดและรูปทรงของทรวงอก เมื่อคุณมีลูกต่อมดังกล่าว จะผลิตน้ำนมสู่ผ่านท่อน้ำนมไปยังหัวนม ดังนั้นช่วงที่ให้นมลูก ต่อมน้ำนมและท่อต่างๆ จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เต้านมยังประกอบด้วยเส้นเลือดและน้ำเหลือง โดยน้ำเหลืองจะนำของเสียที่เต้านมขับออกไปยังเนื้อเยื่อขนาดเล็กเท่าเม็ดถั่วที่เรียกว่าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ซึ่งต่อมน้ำเหลืองจะทำหน้าที่กรองและทำความสะอาดน้ำเหลือง
ผิติ
ต้ป็จำ

       ทุกส่วนของร่างกายคุณจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่มีชีวิต เนื้อเยื่อเหล่านี้จะประกอบขึ้นจากเซลล์จำนวนมากที่มีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งเซลล์ปกติจะมีการแบ่งตัวอย่างมีขอบเขตจำกัด แต่ตราบใดที่เซลล์บางส่วนมีความผิดปกติเกิดขึ้น และมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วลุกลามไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย นั่นเป็นสัญญานว่าเต้านมนั้นถูกรุกรานด้วยมะเร็ง
       การตรวจเต้านมด้วยตัวเองมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณผู้หญิงทุกคน ตั้งแต่เริ่มสาวจนตลอดชีวิต หากตรวจพบความผิดปกติได้เร็วเท่าใด และทำการักษาแต่เนิ่นๆ อัตราที่รักษามะเร็งเต้านมที่หายขาดมีสูง คุณควรฝึกตรวจหาความผิดปกติของมะเร็งเต้านมให้เป็นนิสัยโดยคลำเต้านมของตัวเองทุกๆเดือน เมื่อคุณคุ้นเคยกับการตรวจด้วยตนเองเป็นประจำแล้ว หากมีอะไรผิดปกติเล็กๆน้อยๆ เกิดขึ้นคุณก็สามารถรู้ตัวเองได้อย่างเร็ว รักษาทันได้
       ในทุกๆเดือน ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเต้านมด้วยตนเองคือ วันหลังมีประจำเดือน จะไม่คัดตึง คลำไม่เจ็บ แต่ถ้าคุณเป็นคนที่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ควรเลือดตรวจวันเดียวกันของทุกเดือน เช่น ตรวจทุกวันที่ 7  ของเดือน
วิธีตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
       การตรวจจะทำได้ง่ายขณะอาบน้ำ ให้ยืนอยู่หลังกระจก สังเกตลักษณะเต้านมในท่าแขนปล่อยลงขนาบลำตัว จากนั้นให้ยกมือประสานกันหลังท้ายทอย สังเกตดูเต้านมทั้งสองว่ามีการเปลี่ยนขนาดหรือรูปร่งหรือไม่ ให้ดูลักษณะผิวหนังบริเวณเต้านม และหัวนมมีความผิดปกติ เช่น บุ๋มลง หรือหัวนมบอด ผิวหนังมีสีแตกตต่างจากบริเวณอื่น มีก้อนหรือผิวขรุขระเหมือนผิวส้ม คลำดูมีก้อนโป่งขึ้นมาจนสังเกตเห็นหรือไม่ จากนั้นยกมือเท้าสะเอวและกดเกร็ง ให้กล้ามเนื้อหน้าอกตึงตัว แต่เต้านมทั้งสองข้างมักขนาดไม่เท่ากันอยู่แล้ว คุณไม่ต้องตกใจเพราะเป็นเรื่องปกติ หรือจะเป็นการใช้มือคลำ ขณะอาบน้ำและถูสบู่ให้ลื่นแล้วยกแขนซ้าย วางมือบนศีรษะ ใช้มือขวาแตะกดเต้านม โดยที่นิ้วทั้งสี่ชิดกัน เลื่อนนิ้วมือหมุนวนจากด้านนอกของเต้านม เข้าหาหัวนมโดยหมุนรอบตามเข็มนาฬิกา คุณอย่าลืมตรวจบริเวณรักแร้ด้วยว่าพบก้อนผิดปกติใต้ผิวหนังด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ยังควรบีบหัวนมดูว่ามีของเหลวๆ ไหลออกมาหรือไม่ แต่อาจมีน้ำนมไหลออกมาได้ แม้จะพ้นจากช่วงตั้งครรภ์ไปแล้วก็ตาม เสร็จแล้วให้ตรวจเต้านมด้านซ้ายด้วยวิธีปฏิบัติวิธีเดียวกับเต้านมด้านขวา
       นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจด้วยวิธีนอนราบ โดยใช้มือซ้ายหนุนใต้ศีรษะแล้วใช้มือขวาคลำหน้าอกซ้าย เป็นวงกลมเดียวกับท่ายืน แล้วตรวจคลำเต้านมอีกข้างเช่นเดียวกัน หากพบก้อนบริเวณเต้านม ลักษณะที่ควรติดตามสังเกตความเปลี่ยนแปลงและพบแพทย์ ได้แก่ ก้อนนั้นโตเร็วขึ้น ไม่หมุนกลิ้ง มีขอบแข็ง มีรอยบุ๋มลงไป ผิวขรุขระ มีเลือดไหลออกมาจากหัวนม  ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้โต หรือเจ็บ



ที่มา
ฐาปนี."มะเร็งเต้านม"ในหนังสือ โรคภัยใกล้ตัวหญิง.หน้า11-22.วรางคณา ขัดสงคราม,
                บรรณาธิการ.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ บริษัทไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด,2548.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น