ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม

สาวๆคนไหนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงมะเร็งเต้านม?
       ผู้หญิงที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ เช่น พ่อแม่ หรือน้องสาว และลูกสาว อัตราการเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม จะเพิ่มขึ้นตามอายุและเพิ่มขึ้นมากในผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ส่งเสริมให้เป็นมะเร็งเต้านมได้โดยแบ่งออกเป็น
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมต่อไปนี้สามารถแก้ไขได้ เช่น
  ใช้ฮอร์โมนทดแทนในการรักษาภายหลังหมดวัยประจำเดือน
  ใช้ยาคุมกำเนิดแบบรับประทาน (OCPs) เป็นระยะเวลานาน
  ไม่เคยให้นมบุตร
  ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ 2-5 แก้วต่อวัน
  มีน้ำหนักตัวมากเกินไป (โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน)
  ขาดการออกกำลังกาย
  กินอาหารพวกไขมันมากเกินไป

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ได้แก่
  เป็นผู้หญิง
  อายุ (ความเสี่ยงมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น)
  มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
  หมดประจำเดือนหลังอายุ 50 ปี
  การไม่เคยมีบุตร
  มีบุตรภายหลังอายุ 30 ปี
  มีแม่ พี่น้อง หรือลูกสาวเคยเป็นมะเร็งเต้านม
  เคยตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านม หรือเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในภาวะก่อนเป็นมะเร็งเต้านม
  มีความผิดปกติของยีนส์ที่ได้รับ การถ่ายทอดพันธุกรรมมากจากพ่อแม่
  เคยมีประวัติเคยเป็นมะเร็งมดลูกแล้วมะเร็งลำไส้ใหญ่ (รวมถึงประวัติในครอบครัวเคยมีคนเป็นด้วย)
การตรวจหาเซลล์มะเร็งเต้านม
       ทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับหมอจะเห็นเหมาะสม เช่น การนับชิ้นเนื้อไปตรวจที่เรียกว่า Biopsy การเอกซเรย์เต้านมแบบ Mam-nogram ที่ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อของเต้านมได้ หากมีความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับคุณ สิ่งที่ควรทำคือ
  พยายามเรียนรู้ทุกๆ อย่างเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม รวมทั้งวิธีการักษาด้วย
  ถามทุกเรื่องที่มีความสงสัย และยังไม่เข้าใจ ควรขอคำแนะนำและความเห็นจากคุณหมอที่ดูแลคุณ
  หาโอกาสคุยกับคนที่เคยรักษามะเร็งเต้านมมาแล้ว
  พัฒนาการของโรค
ตรวจเต้านมด้วยตนเอง
      ถ้าคุณมีประจำเดือนเป็นปกติทุกเดือน ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองหลังจากหมดประจำเดือนในแต่ละเดือน ภายใน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าอยู่ในวัยหมดประจำเดือน ให้ตรวจในวันแรกของทุกเดือน ส่วนผู้ที่กินยาเม็ดคุมกำเนิด ให้ตรวจในวันแรกที่เริ่มกินยาแผงใหม่ การตรวจเต้านมควรทำระหว่างอาบน้ำในตอนเช้า เพราะก้อนเนื้อจะถูกตรวจพบได้ง่ายหากมือและเต้านมยังเปียกออยู่ โดยใช้ฝ่ามือ 3 นิ้ว ของนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง คลำขึ้นลงหรือเป็นวงกลม ให้ทั่วทั้งเต้านม รักแร้ และตรวจหัวนมว่ามีของเหลวไหลออกมาหรือไม่ จากนั้นให้ตรวจเต้านมขณะที่ยืนหรือนั่งหน้ากระจก ตรวจทั้งในขณะที่ยกแขนขึ้นและแบข้างลำตัว มองดูการเปลี่ยนแปลงในขนาดและรูปร่าง ดูรอยบุ๋มและความผิดปกติของเต้านม ต่อจากนั้นให้ตรวจเต้านมขณะที่นอนหงายกับพื้น วางหมอนใบเล็กๆ หรือผ้าเช็ดหนุนไหล่ข้างที่จะตรวจ ใช้มือขวาตรวจเต้านมข้างซ้ายและใช้มือซ้ายตรวจเต้านมข้างขวา ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองควรปรึกษาแพทย์
สัญญาณก่อนที่จะเป็นมะเร็งเต้านม

          ในระยะก่อนเป้นมะเร็งเต้านมนั้นจะไม่มีสัญญาณหรืออาการใดๆเลย ดังนั้นการตรวจเต้านมอย่างส่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยช่วงที่เซลล์มะเร็งเติบโตจะทำให้มีอาการซึ่งควรรีบพบแพทย์ดังนี้
  มีก้อนเนื้อที่เต้านมหรือในวงแขน
  ขนาดและรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป
  หัวนมมีของเหลวไหลออกมาหรือมีรูปร่างผิดปกติ
  มีผื่นแดงหรือตกสะเก็ดของผิวหนังหรือหัวนม
  มีรอยขรุขระหรือรอยบุ๋มของผิวหนังเต้านม คล้ายเปลือกส้ม
       การจะแน่ใจว่าเป้นมะเร็งเต้านมต้องผ่านการตรวจหลายวิธีเพื่อวัดขนาดของก้อนมะเร็ง ตรวจการแพรรากระจาย เพื่อตรวจหาระยะของมะเร็ง (staging) เพื่อใช้ในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ตามปกติแล้วระยะมะเร็งจะแบ่งได้ดังนี้
  stage0 เป็นระยะที่มะเร็งไม่ลุกลาม พบเซลล์มะเร็งเฉพาะในท่อน้ำนม
 stage1 ก้อนมะเร็งมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน เซนติเมตร ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านม
  stage2 ก้อนมะเร็งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน เซนติเมตร หรือลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว
  stage3 ก้อนมะเร็งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน เซนติเมตร หรือลุกลามไปถึงผิวหนัง ผนังอกหรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง
  stage4 มะเร็งลุกลามไปถึงกระดูก ปอดหรือต่อมน้ำเหลืองที่ห่างจากเต้านม
       นอกจากนี้ในบางคนยังมีโอกาสเกิดมะเร็งที่กลับมาซ้ำอีกแม้ว่าจะได้รับการรักษาแล้วก็ตาม เรียกว่า Recurrent breast can-cer



ที่มา
ฐาปนี."มะเร็งเต้านม"ในหนังสือ โรคภัยใกล้ตัวหญิง.หน้า11-22.วรางคณา ขัดสงคราม,
                บรรณาธิการ.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ บริษัทไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด,2548.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น