การจัดการมะเร็งเต้านม

จัดการกับมะเร็งเต้านม
      หากสาวๆ คนไหนสงสัยว่าตัวเองจะเป็นมะเร็งเต้านม ปกติแล้วหมอจะทำการตรวจจนได้ผลที่แน่ชัดจึงวางแผนการรักษา อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัด ซึ่งหลักจากนั้นจะรักษาเพื่อยับยั้งการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง ซึ่งแพทย์อาจใช้วิธีรักษาแบบหนึ่งแบบใดต่อไปนี้
       ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) คือการใช้ยาต้านนมะเร็งเพื่อยับยั้งเซลล์มะเร็งที่มีปริมาณน้อยเกินไปที่จะใช้วิธีการผ่าตัด โดยยาจะเข้าไปขัดขวางกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ปกติในร่างกายด้วย ซึ่งทำให้เกิดอาการข้างเคียง อย่างไรก็ตามการใช้ยาบำบัดนี้ยังคงมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง
       รังสีบำบัด (Radiation therapy) คือ การใช้รังสีที่มีพลังสูงคล้ายรังสีเอกซเรย์เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง วิธีนี้แม้ว่าไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะรักษา แต่ทว่าอาการข้างเคียงพอๆกับการใช้ยาเคมีบำบัด วิธีนี้เหมาะสำหรับมะเร็งบางชนิดและบางระยะของมะเร็งเต้านมเท่านั้น
       ในผู้ที่เซลล์มะเร็งมีตัวรับฮอร์โมน เอสโตรเเจน  (estrogen receptors) อาจให้การรักษาด้วยวิธี       ฮอร์โมนบำบัด (Hormonal receptors) โดยยาที่ชื่อว่า tamoxifen จะยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ สำหรับผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนนั้น อาจรักษาด้วยยาที่ใหม่กว่าและแพงกว่า เช่น aromatase inhibitors
       การตรวจพบว่ามียีนส์มะเร็งเฮอร์ทู (HER - 2/neu) ซึ่งเป็นตัวรับยีนสื BRCA แสดงถึงโอกาสสูงที่เนื้อร้ายจะเกิดขึ้นใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งยาที่เรียกว่า trastuzumab จะช่วยยับยั้งการทำงานของตัวรับดังกล่าว และมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมได
       ในสตรีที่เกิดมะเร็งเต้านมหรือแม้กระทั้งเป็นโรคอื่นๆที่นำความกังวลมาให้ ก็มักจะมีความปั่นป่วนทางจิตใจได้ โดยเฉพาะเรื่องของอารมณ์

 บางวันเธอผู้นั้นอาจจะรู้สึกเข้มแข็งมีกำลังใจสู้ แต่วันต่อมาเธออาจเธออาจจะรู้สึกท้อแท้หวาดกลัว ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา คนรอบข้างและคนในครอบครัวจะต้องทำความเข้าใจสภาพจิตใจของเขาด้วย ทุกคนควรจะเป็นผู้ให้กำลังใจกับเธอ ให้คำปรึกษาเพื่อลดความวิตกกังวล อย่าลืมว่า มะเร็งเต้านมหารตรวจพบแต่แรกและรีบทำการรักษามีโอกาสรักษาให้หายขาดสูง


ที่มา
ฐาปนี."มะเร็งเต้านม"ในหนังสือ โรคภัยใกล้ตัวหญิง.หน้า11-22.วรางคณา ขัดสงคราม,
                บรรณาธิการ.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ บริษัทไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด,2548.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น